บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อแบ่งปันความรู้ ความสนใจ ในประเทศญี่ปุ่น

Idol

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อยากไปเรียนที่ญี่ปุ่นมีทุนให้

ทุนการศึกษาแบบแรก  คือทุนที่สามารถหาได้ในเมืองไทย  หน่วยงานที่ให้ทุนมีทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  มีทั้งแบบให้เปล่า  และแบบที่ต้องกลับมาทำงานใช้ทุน  เช่น-  ทุนรัฐบาลไทย ( ทุนก.พ)   มีทุนที่ให้ไปศึกษาต่อตั้งแต่ระดับมัธยมปลายที่ญี่ปุ่น  จนกระทั่งจบปริญญาตรี โท เอก   เปิดรับสมัครสอบทุกปี  สามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซท์ของสำนักงานกพ.  ซึ่งจะมีตัวอย่างข้อสอบให้ศึกษากันด้วย   ที่  http://www.ocsc.go.th/
-  ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น 
หรือที่มักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่าทุนมงฯ  ย่อมาจาก
Monbukagakusho  มีทั้งสิ้น 6 ประเภท   รวมทั้งสิ้นประมาณ 80 ทุน   ทุนประเภทที่เป็นที่รู้จักกันเป็นส่วนใหญ่  คือทุนระดับปริญญาตรี  ทุนนักศึกษาวิจัย (เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตวิทยาลัย) ซึ่งจะเปิดรับสมัครสอบในเดือนมิถุนายน กรกฎาคมของทุกปี   ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซท์ของสถานทูตญี่ปุ่น  ในส่วนของสำนักข่าวสารญี่ปุ่น http://www.th.emb-japan.go.jp/th/index.htm

-  ทุนการศึกษาพานาโซนิค
  
เป็นทุนของหน่วยงานเอกชนคือบริษัท มัตสุชิตะ อิเล็คทริค อินดัสเตรียล จำกัดและกลุ่มบริษัท พานาโซนิค ในประเทศไทย   ให้ทุนศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่นในระดับปริญญาโท  โดยเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง (ยกเว้นวิทยาศาสตร์การแพทย์, เภสัชศาสาตร์, ทันตแพทยศาสตร์)  โดยไม่มีข้อผูกมัดในการคืนทุน    เปิดรับสมัครประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซท์  http://www.panasonic.co.th/-   ทุนธนาคารกสิกรไทย  
ให้ทุนศึกษาต่อปริญญาโททั้งที่อเมริกา  จีน  และญี่ปุ่น  ซึ่งในส่วนของญี่ปุ่นจะเน้น
ด้านการเงิน/การตลาด   ผู้ได้รับทุนนี้จะต้องกลับมาปฏิบัติงานให้กับทางธนาคาร   โดยจะเปิดรับสมัครประมาณช่วงต้นปี ถึงเดือนมีนาคม  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซท์ของธนาคารกสิกรไทยที่ 
http://www.kasikornbank.com/

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของทุนการศึกษาบางส่วน ซึ่งทุนประเภทนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะให้ทุนที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของค่าเล่าเรียน   ค่าที่พัก  ค่าตั๋วเครื่องบิน และค่าใช้จ่ายส่วนตัว  ฉะนั้น แน่นอนว่า ย่อมมีการแข่งขันสูงเป็นธรรมดา   ตั้งแต่ด่านแรกของการสมัคร  มักจะคัดเลือกจากเกรดเฉลี่ยสะสม
(G.P.A)  เป็นการคัดสรรผู้ที่มีสิทธิ์สมัครเข้าสอบได้ในระดับหนึ่ง     ซึ่งแน่นอนว่าผู้ที่มีสิทธิเข้าแข่งขันย่อมเป็นระดับเทพกันทั้งนั้น   ยกตัวอย่างทุนรัฐบาลญี่ปุ่นระดับปริญญาตรีนั้น  กำหนดเกรดเฉลี่ยไว้ที่ 3.80   หลายคนได้ยินแล้วถึงกับร้องโอ้โห    แต่ในความเป็นจริงแล้วจะพบว่านักเรียนที่สมัครเข้าสอบ  ได้เกรดเฉลี่ย 4.00 กันเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว   แต่อย่างไรก็ตาม  ถึงจะได้เกรดเฉลี่ย 4.00 ก็ใช่ว่าจะมีสิทธิ์ได้ทุนเสมอไป   เพราะการสอบคัดเลือกส่วนใหญ่จะมีทั้งการสอบข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์    เพื่อคัดผู้ที่เหมาะสมที่สุดในทุก ๆ ด้านให้เป็นผู้ที่จะได้รับทุน   

ทุนธนาคารโลก เรียนต่อ ป.โท หรือ ป.เอก ที่ญี่ปุ่น  
ทุนธนาคารโลกซึ่งสนับสนุนโดยบรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นเปิดรับสมัครทุนการศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกแก่บุคลากรในประเทศกำลังพัฒนา ประจำปี 2012เพื่อเข้าศึกษาต่อในสาขานโยบายสาธารณะและภาษีอากร (Public Policy and Taxation) ณ ประเทศญี่ปุ่น

 รายละเอียดของทุนการศึกษา
        สำหรับปีการศึกษา 2012ธนาคารโลกและรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นมอบหมายให้มหาวิทยาลัยแห่งชาติโยโกฮาม่า เป็นผู้ดำเนินการรับสมัคร และคัดเลือก นักเรียนรอบแรกจากนักเรียนทั่วโลก ส่วนการพิจารณาขั้นสุดท้ายทางธนาคารโลกจะเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกเองโดยมีทุนการศึกษามอบให้ปีละ 5ทุน มูลค่าทุนครอบคลุมค่าเล่าเรียน ค่ากินอยู่ 170,000เยน/เดือน หรือประมาณ 66,640บาท/เดือน (มูลค่าอาจเปลี่ยนแปลงได้) ค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับประเทศญี่ปุ่นรวมค่าเดินทาง 60,000เยน ราว 23,500บาท
        ทุนการศึกษาที่มอบให้คลุมค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการสอบ และค่าธรรมเนียมการสมัคร รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในเดินทางฝึกภาคสนามที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนด้วยผู้รับทุนการศึกษาจะได้รับค่าใช้จ่ายประจำเดือนซึ่งครอบคลุมค่าครองชีพ ค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในระหว่างระยะเวลาการศึกษาจนเรียนจบเริ่มรับทุนการศึกษาตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2012และจบการศึกษาในเดือนมีนาคมปี 2014ผู้รับทุนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวันเวลารับทุนการศึกษาจนจบหลักสูตรไม่ว่าจะสถานการณ์ใด ๆ
 
 คุณสมบัติของผู้สมัคร - มีอายุระหว่าง 25-45ปี
- ถือสัญชาติของประเทศที่กำลังพัฒนาที่เป็นสมาชิกธนาคารโลก (รวมถึงประเทศไทย)
- ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะ
- มีสุขภาพและบุคลิกภาพดี สามารถทำงานเป็นทีม และสนใจกิจกรรมนอกหลักสูตร
- จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา
- มีประสบการณ์การทำงานเต็มเวลาอย่างต่ำ 4ปีในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจหรือนโยบายสาธารณะในประเทศบ้านเกิดหรือในประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ
- มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ผลคะแนน TOEFL 550 (213คะแนนจากข้อสอบคอมพิวเตอร์หรือ 79จากข้อสอบอินเตอร์เน็ต) หรือผลคะแนน IELTS 6.0
- จดหมายรับรอง 2ฉบับ (จดหมายรับรองจากหัวหน้างานปัจจุบัน และอาจารย์ผู้สอนในระดับปริญญาตรี)
- เขียนเรียงความประกอบการสมัครขอทุนเป็นภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 1,200คำ
ผู้สมัครต่อไปนี้จะไม่ได้รับสิทธิ- เคยเรียนระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกในประเทศอุตสาหกรรม
- เคยเรียน ฝึกอบรม หรือพำนักอาศัยในประเทศอุตสาหกรรม 1ปีขึ้นไป
- เป็นประชากรถาวรในประเทศอุตสาหกรรม
- เป็นพนักงานของกลุ่มธนาคารโลกซึ่งรวมถึงบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (International Finance Corporation - IFC) สำนักประกันการลงทุนพหุภาคี (Multilateral Investment Guarantee Agency - MIGA) และศูนย์กลางระหว่างประเทศเพื่อยุติความขัดแย้งด้านการลงทุน (International Center for Settlement of Investment Disputes - ICSID)
 

ช่วงเวลาการรับสมัคร        ทุนธนาคารโลกเปิดรับสมัครศึกษาต่อระดับปริญญาโทประจำปี 2012  กำหนดการรับสมัคร  ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30กันยายน 2011

        หมายเหตุ การสมัครต้องใช้แบบฟอร์มใบสมัครตัวจริงที่จัดส่งให้ทางไปรษณีย์เท่านั้น ไม่สามารถดาวน์โหลดผ่านทางเว็บไซต์หรืออีเมล์ กรุณาสอบถามข้อมูลโดยตรงไปยัง
MPE Office E-mail: is-mpe@ml.ynu.ac.jp  โทรสาร +81-45-339-3608
        ส่งใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัครไปที่ MPE Office International Graduate School of Social Sciences Yokohama National University 79-4 Tokiwadai, Hodogaya-ku Yokohama, 240-8501 JAPAN
นอกจากนี้ยังมีทุนการศึกษาระยะสั้นอื่น ๆ  เช่น 
- ทุนการศึกษาเจแปนแอร์ไลน์  เป็นทุนระยะสั้นสำหรับนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยโดยคัดเลือกจากการเขียนเรียงความในหัวข้อที่กำหนด  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.jal-foundation.or.jp/new/index.html  - ทุนโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์  และทุนอื่น ๆ สำหรับเยาวชน ซึ่งสามารถติดตามข่าวสารได้ที่เว็บไซท์ของ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ  ที่ http://www.opp.go.th

ในส่วนของทุนการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น  รวมถึงบทสัมภาษณ์นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่นและตัวอย่างข้อสอบ
สามารถติดตามอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซท์ http://www.jeducation.com
อ่านต่อรายละเอียดทั้งหมดและดาวน์โหลดไฟล์ที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่
ที่มา ENN ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย http://www.enn.co.th/


สิ่งที่ควรปฎิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว/สึนามี

เหตุจากแผ่นดินไหว
        ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว       
       1. ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
       2. ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
       3. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น
       4. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
       5. อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้
       6. ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
       7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้ง ในภายหลัง
       8. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

       ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว     
       1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน
       2. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
       3. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
       4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
       5. อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
       6. ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
       7. ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
       8. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
       หลังเกิดแผ่นดินไหว
       1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
       2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้
       3. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง
       4. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ
หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
       5. ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
       6. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
       7. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ
       8. สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
       9. อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง
       10. อย่าแพร่ข่าวลือ
แหล่งข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยา

เหตุจากคลื่นสึนามิ

       วิธีที่จะสามารถป้องกันตนเองจากคลื่นสึนามิ
       ข้อเท็จจริงสำคัญเกี่ยวกับคลื่นสึนามิที่ควรทราบ
       สิ่งที่ควรปฎิบัติเมื่อเกิดคลื่นสึนามิ
              ในกรณีที่อยู่บนฝั่ง
              ในกรณีที่อยู่บนเรือ
       ข้อเท็จจริงสำคัญเกี่ยวกับคลื่นสึนามิที่ควรทราบ
       คลื่นสึนามิที่ซัดเข้าชายฝั่งทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกมักเกิดจากแผ่นดินไหวเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเแผ่นดินไหวนี้อาจจะเกิดในบริเวณใกล้หรือไกลจากบริเวณที่คุณอยู่
คลื่นสึนามิบางลูกมีขนาดใหญ่มาก ในบริเวณชายฝั่งอาจมีความสูงถึง 30 ฟุตหรือมากกว่า (100 ฟุตในครั้งที่ร้ายแรงที่สุด) นอกจากนี้ คลื่นสึนามิยังสามารถเคลื่อนตัวเข้าฝั่งด้วยความสูงหลายร้อยฟุต
คลื่นสึนามิสามารถซัดถล่มบริเวณชายฝั่งทะเลที่อยู่ในระดับต่ำได้ทั้งหมด
คลื่นสึนามิหนึ่งลูกประกอบด้วยคลื่นจำนวนหลายระลอก บ่อยครั้งที่คลื่นลูกแรกอาจจะไม่ใช่คลื่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
และหลังจากที่เกิดคลื่นลูกแรก อันตรายที่เกิดจากคลื่นสึนามิอีกหนึ่งลูกอาจกินเวลาต่อมาหลายชั่งโมง
คลื่นสึนามิสามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็วกว่าที่คนจะสามารถวิ่งได้
บางครั้งคลื่นสึนามิทำให้น้ำบริเวณชายฝั่งลดลงและเผยให้เห็นพื้นมหาสมุทรได้
คลื่นสึนามิบางลูกมีพลังความแรงมหาศาล คลื่นของมันสามารถพัดพาก้อนหินขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักหลายตัน พร้อมทั้งเรือและซากปรักหักพังอื่น ๆ ขึ้นมาบนฝั่งในระยะหลายร้อยฟุต น้ำทะเลสามารถเคลื่อนที่ด้วยกำลังมหาศาล และสามารถทำลายอาคาร บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย และทำให้ผู้คนบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้
คลื่นสึนามิสามารถเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นในตอนกลางวันหรือกลางคืน
คลื่นสึนามิ สามารถไปตามเเม่น้ำหรือลำธารที่ไหลลงมหาสมุทรได้
       สิ่งที่ควรปฎิบัติเมื่อเกิดคลื่นสึนามิ
       ในกรณีที่อยู่บนฝั่งควรตระหนักถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคลื่นสึนามิ ข้อมูลนี้สามารถช่วยชีวิตคุณได้และควรแจ้งข้อมูลนี้แก่ญาติและเพื่อนของคุณ เนื่องจากข้อมูลนี้จะสามารถช่วยชีวิตของพวกเขาได้เช่นกัน
ในกรณีที่คุณอยู่ในโรงเรียนและได้ยินเสียงเตือนภัยเกี่ยวกับคลื่นสึนามิ คุณควรปฎิบัติตามคำแนะนำของอาจารย์หรือบุคคลากรท่านอื่น ในโรงเรียน
ในกรณีที่คุณอยู่ในบ้านและได้ยินเสียงเตือนภัยเกี่ยวกับคลื่นสึนามิ คุณควรแน่ใจว่าครอบครัวของคุณทั้งหมดได้ยินเสียงเตือนภัยนั้น ถ้าคุณอยู่ในบริเวณที่จะได้รับอันตรายจากคลื่นสึนามิ ควรอพยพครอบครัวด้วยความเรียบร้อย สงบและปลอดภัย
ไปยังสถานที่อพยพหรือสถานที่ที่ปลอดภัยนอกเขตอันตราย นอกจากนั้น ควรปฎิบัติตามคำแนะนำของประกาศภาวะฉุกเฉินในท้องถิ่น หรือกฏหมายที่ประกาศบังคับใช้
ในกรณีที่คุณอยู่ที่ชายหาดหรือใกล้มหาสมุทรและรู้สึกว่าแผ่นดินสั่นสะเทือน ควรไปยังพื้นที่ที่สูงกว่าโดยทันที โดยไม่ต้องรอเสียงประกาศเตือนภัย เนื่องจากคลื่นสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวในท้องถิ่น สามารถโจมตีในบางบริเวณก่อนที่จะมีการประกาศเตือน นอกจากนี้ ควรอยู่ห่างจากแม่น้ำหรือลำธารที่ไหลลงมหาสมุทร และเมื่อคลื่นสึนามิเกิดขึ้น ควรอยู่ห่างจาก
ชายหาดและมหาสมุทร
คลื่นสึนามิที่เกิดในสถานที่ที่ห่างไกลออกไป จะทำให้ผู้คนมีเวลาพอที่จะอพยพไปอยู่บนที่สูง แต่สำหรับคลื่นสึนามิที่เกิดภายในเมืองริมชายฝั่งทะเล ซึ่งคุณอาจรู้สึกได้ว่าแผ่นดินสั่นสะเทือน คุณอาจมีเวลาเพียงไม่กี่นาทีที่จะไปอยู่บนที่สูง
มีโรงเเรมคอนกรีตที่สูงหลายชั้นตั้งอยู่บนบริเวณชายฝั่งในระดับต่ำหลายแห่ง ในกรณีที่มีเสียงเตือนภัยและคุณไม่สามารถหนีเข้าฝั่งไปยังพื้นที่สูงด้วยความรวดเร็วได้ ชั้นบนของโรงแรมเหล่านี้เป็นสถานที่ปลอดภัยที่สามารถใช้หลบภัยได้ อย่างไรก็ตาม บ้านและอาคารขนาดย่อมที่ตั้งอยู่ในบริเวณชายฝั่งระดับต่ำ ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อต้านทานแรงกระแทกของคลื่นสึนามิ ดังนั้น จึงไม่ควรอยู่ในสถานที่เหล่านี้ เมื่อมีการเตือนภัย
หินโสโครกนอกชายฝั่งและพื้นที่ตื้นเขิน อาจช่วยหยุดยั้งกำลังของคลื่นสึนามิได้ แต่คลื่นที่มีขนาดใหญ่และอันตราย ก็ยังคงเป็นสิ่งที่คุกคามผู้อยู่อาศัยริมฝั่งในบริเวณเหล่านั้น ดังนั้น คำแนะนำที่ปลอดภัยที่สุด เมื่อมีการเตือนภัยเกี่ยวกับคลื่นสึนามิ คือ ควรอยู่ห่างจากบริเวณที่ต่ำ

       ในกรณีที่อยู่บนเรือ
เนื่องจากเราไม่สามารถรับรู้เกี่ยวกับคลื่นสึนามิในมหาสมุทรเปิดได้ นอกจากนี้ คลื่นสึนามิสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดกระแสน้ำที่อันตรายซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ที่ท่าเรือ ดังนั้น จึงไม่ควรกลับเข้าท่าเรือ หากอยู่ในทะเลและมีประกาศเตือนภัยในบริเวณที่คุณอยู่
หลังประกาศเตือนภัย หากมีเวลาที่จะเคลื่อนย้ายเรือของคุณไปสู่น้ำลึก ควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
ท่าเรือขนาดใหญ่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ประจำท่าเรือและ/หรือระบบเส้นทางเดินเรือ หากมีการ
คาดการณ์ว่าคลื่นสึนามิจะเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่เหล่านี้ควรกำกับการดำเนินการในช่วงที่มีความพร้อม และกำกับการเดินเรือหากเห็นสมควร ในกรณีที่การเดินเรืออยู่ในความควบคุมดูแล ควรรักษาการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ท่าเรือ
ท่าเรือขนาดเล็กอาจไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ประจำท่าเรือ ถ้าคุณได้ยินเสียงเตือนภัย และมีเวลาที่จะเคลื่อนย้ายเรือไปยังน้ำลึก ควรกระทำด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย และคำนึงถึงเรือลำอื่น วิธีที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับเจ้าของเรือขนาดเล็ก โดยเฉพาะเมื่อคลื่นสึนามิเกิดขึ้นในท้องที่ คือ จอดเรือไว้ที่ท่าแล้วขึ้นฝั่งไปยังพื้นที่สูง สภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย (ทะเลที่มีคลื่นจัดนอกท่าเรือ) ทำให้เรือขนาดเล็กอยู่ในอันตรายมากขึ้น ดังนั้น การย้ายไปอยู่บนพื้นที่สูงจึงเป็นหนทางเดียวที่ปลอดภัยที่สุด
คลื่นสึนามิและกระแสน้ำที่ไม่อาจคาดการณ์ได้สามารถส่งผลกระทบต่อท่าเรือในระยะเวลาหนึ่ง หลังจากที่มีผลกระทบที่รุนแรงต่อชายฝั่งในระยะแรก ดังนั้น ควรติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของท่าเรือก่อนที่จะกลับไปยังท่าเรือ เพื่อตรวจสอบว่าสภาพภูมิอากาศที่ท่าเรือปลอดภัยต่อการเดินเรือและจอดเรือ
แหล่งข้อมูล : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
                        สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
                        กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จะรู้ได้อย่างไรเมื่อเกิดแผ่นดินไหวหรือสึนามิ

สัญญาณเกิดเหตุและระบบเตือนภัย

ขณะที่จุดต่ำสุดของคลื่นเคลื่อนเข้าสู่ฝั่ง ระดับน้ำทะเลจะลดลงและทำให้ขอบทะเลร่นถอยออกจากชายฝั่ง ถ้าชายฝั่งนั้นมีความลาดชันน้อย ระยะการร่นถอยนี้อาจมากถึง 800 เมตร ผู้ที่ไม่ทราบถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นอาจยังคงรออยู่ที่ชายฝั่งด้วยความสนใจ นอกจากนี้บริเวณที่ต่ำ อาจเกิดน้ำท่วมได้ก่อนที่ยอดคลื่นจะเข้าปะทะฝั่ง น้ำที่ท่วมนี้อาจลดลงได้ก่อนที่ยอดคลื่นถัดไปจะเคลื่อนที่ตามเข้ามา ดังนั้นการทราบข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นสึนามิจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ตระหนักถึงอันตราย ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ระดับน้ำในครั้งแรกลดลงไปนั้น อาจมีคลื่นลูกใหญ่ตามมาอีกได้
ประเทศและบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิได้มีการติดตั้งระบบเตือนภัยเพื่อพยากรณ์ และตรวจจับการเกิดขึ้นของคลื่นยักษ์นี้
แม้การป้องกันไม่ให้คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจะยังทำไม่ได้ ในบางประเทศได้มีการสร้างเครื่องป้องกันและลดความเสียหายในกรณีที่คลื่นสึนามิจะเข้ากระทบฝั่ง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นได้มีการสร้างกำแพงป้องกันสึนามิที่มีความสูงกว่า 4.5 เมตร ด้านหน้าของชายฝั่งบริเวณที่มีประชากรหนาแน่น บางที่ได้มีการสร้างกำแพงกันน้ำท่วมและทางระบายน้ำเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางของคลื่น และลดแรงกระแทกของคลื่น ถึงแม้ว่า ในกรณีของคลื่นสึนามิที่เข้ากระทบเกาะฮอกไกโดที่มักมีความสูงมากกว่าเครื่องกีดขวางที่ได้สร้างขึ้น กำแพงเหล่านี้อาจช่วยลดความเร็วหรือความสูงของคลื่นแต่ไม่สามารถที่จะป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้
สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) หลังจากที่คลื่นสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้น้ำเข้ากระทบชายฝั่งทางใต้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกมาตรการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ เพื่อเตือนประชาชนให้ป้องกันตัวโดยไม่ต้องรอประกาศจากทางราชการ


สึนามิ

คลื่นสึนามิ (ญี่ปุ่น: 津波 tsunami  คลื่นที่ท่าเรือ หรือ คลื่นชายฝั่ง ?) คือ คลื่นหรือกลุ่มคลื่นที่มีจุดกำเนิดอยู่ในเขตทะเลลึก ซึ่งมักปรากฏหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินทรุด หรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงในทะเล คลื่นสึนามิสามารถเข้าทำลายพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้
สึนามิ (การออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นคือ /tsunami/ สึนะมิ[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งต่างกันเล็กน้อยกับการออกเสียงในภาษาอังกฤษว่า /suːnɑːmi (ː)/ ซูนามิ หรือ /tsuːnɑːmi (ː)/ (ทซู) นามิ[ต้องการอ้างอิง] (ท ควบ ซ ในเสียงญี่ปุ่น) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ในลักษณะของระลอกคลื่น ที่เกิดขึ้นจากการที่น้ำในทะเลสาบหรือในท้องมหาสมุทรจำนวนมหาศาล เกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเทจากบริเวณหนึ่งสู่อีกบริเวณหนึ่งอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินเคลื่อนตัว ภูเขาไฟระเบิด หรือจากวัตถุนอกโลก เช่น ดาวหาง หรืออุกกาบาต ตกสู่พื้นทะเลหรือมหาสมุทรบนผิวโลก คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นนี้จะถาโถมเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเลด้วยความรวดเร็วและรุนแรง สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่อาศัยที่พังพินาศไป พร้อม ๆ กับมนุษย์จำนวนมากมายที่อาจได้รับบาดเจ็บและล้มตายไปด้วยฤทธิ์ของมหาพิบัติภัยที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน[ต้องการอ้างอิง]
คำว่า "สึนามิ" มาจากภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า "ท่าเรือ" (津 สึ) และ "คลื่น" (波/浪 นะมิ) [ต้องการอ้างอิง] ศัพท์คำนี้บัญญัติขึ้นโดยชาวประมงญี่ปุ่น ผู้ซึ่งแล่นเรือกลับเข้าฝั่งมายังท่าเรือ และพบว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยรายล้อมอยู่รอบท่าเรือนั้นถูกทำลายพังพินาศไปจนหมดสิ้น โดยในระหว่างที่เขาลอยเรืออยู่กลางทะเลกว้างนั้นไม่ได้รู้สึกหรือสังเกตพบความผิดปกติของคลื่นดังกล่าวเลย ทั้งนี้เนื่องจากคลื่นสึนามิไม่ใช่ปรากฏการณ์ระดับผิวน้ำในเขตน้ำลึก เพราะคลื่นที่เกิดขึ้นจะมีขนาดของคลื่น (แอมพลิจูด) ขนาดเล็กมากเมื่ออยู่ในพื้นน้ำนอกชายฝั่ง ในขณะเดียวกันก็มีความยาวคลื่น ที่ยาวมาก (ปกติจะมีความยาวหลายร้อยกิโลเมตร) ทำให้คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นไม่สามารถสังเกตเห็นได้ขณะที่ลอยเรืออยู่บนผิวน้ำกลางทะเลลึก เนื่องจากคลื่นที่เกิดขึ้นจะเห็นเป็นเพียงแค่เนินต่ำ ๆ ตะคุ่ม ๆ อยู่ใต้น้ำเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]
คลื่นสึนามินี้ ในทางประวัติศาสตร์มีการอ้างอิงถึงว่าเป็น คลื่นใต้น้ำ (tidal waves) เนื่องจากเมื่อคลื่นดังกล่าวเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่ง จะยิ่งมีลักษณะเหมือนการไหลท่วมของกระแสน้ำขึ้นที่ถาโถมเข้าสู่ฝั่งอย่างรุนแรง มากกว่าที่จะมีลักษณะเหมือนกับเกลียวคลื่นที่เกิดจากการพัดกระหน่ำของสายลมจากกลางมหาสมุทรเข้าสู่ฝั่ง เนื่องจากโดยแท้จริงแล้วคลื่นสึนามิไม่ได้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ใด ๆ เลยกับน้ำขึ้นน้ำลง จึงมีการมองว่า คำว่า "tidal waves" นั้น อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดถึงสาเหตุของการเกิดคลื่นดังกล่าวได้[ต้องการอ้างอิง] นักสมุทรศาสตร์จึงไม่แนะนำให้เรียกคลื่นสึนามิว่า "tidal waves" แต่แนะนำให้เรียกเป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Seismic Sea Wave" ซึ่งมีความหมายตรงๆ ในภาษาไทยว่า คลื่นทะเลที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือน[ต้องการอ้างอิง] ทั้งนี้ ในเว็บไซต์และหนังสือบางเล่ม กล่าวถึงชื่อเรียกของคลื่นชนิดนี้ในภาษาอังกฤษผิด คือ "Harbor Wave" ซึ่งเป็นชื่อที่แปลอย่างตรงตัวจากภาษาญี่ปุ่น แต่ไม่ได้ให้ความหมายใดๆ ในภาษาอังกฤษ[ต้องการอ้างอิง]

 
ลักษณะของคลื่น
 
 คลื่นสึนามิแตกต่างจากคลื่นน้ำธรรมดามาก ตัวคลื่นนั้นสามารถเดินทางได้เป็นระยะทางไกล โดยไม่สูญเสียพลังงาน และสามารถเข้าทำลายชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลจากจุดกำเนิดหลายพันกิโลเมตรได้ โดยทั่วไปแล้วคลื่นสึนามิซึ่งเป็นคลื่นในน้ำ จะเดินทางได้ช้ากว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เป็นคลื่นที่เดินทางในพื้นดิน ดังนั้น คลื่นอาจเข้ากระทบฝั่งภายหลังจากที่ผู้คนบริเวณนั้นรู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวเป็นเวลาหลายชั่วโมง[ต้องการอ้างอิง]
คลื่นโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติสำคัญที่วัดได้อยู่สองประการคือ คาบ ซึ่งจะเป็นเวลาระหว่างลูกคลื่นสองลูก และ ความยาวคลื่น ซึ่งเป็นระยะห่างระหว่างลูกคลื่นสองลูก ในทะเลเปิด[ต้องการอ้างอิง] คลื่นสึนามิมีคาบที่นานมาก โดยเริ่มจากไม่กี่นาทีไปจนเป็นชั่วโมง ในขณะเดียวกันก็มีความยาวคลื่นที่ยาวมาก โดยอาจยาวถึงหลายร้อยกิโลเมตร ในขณะที่คลื่นทั่วไปที่เกิดจาก ลมที่ชายฝั่งนั้นมีคาบประมาณ 10 วินาที และมีความยาวคลื่นประมาณ 150 เมตรเท่านั้น ความสูงของคลื่นในทะเลเปิดมักน้อยกว่าหนึ่งเมตร[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งทำให้ไม่เป็นที่สังเกตของผู้คนบนเรือ คลื่นสึนามิจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วตั้งแต่ 500 ถึง 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ชายฝั่งที่มีความลึกลดลง คลื่นจะมีความเร็วลดลงและเริ่มก่อตัวเป็นคลื่นสูง โดยอาจมีความสูงมากกว่า 30 เมตร[ต้องการอ้างอิง]
คลื่นสึนามิจะเคลื่อนตัวออกจากแหล่งกำเนิด ดังนั้น ชายฝั่งที่ถูกกำบังโดยแผ่นดินส่วนอื่นๆ มักปลอดภัยจากคลื่น อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสที่คลื่นจะสามารถเลี้ยวเบนไปกระทบได้ นอกจากนี้ คลื่นไม่จำเป็นต้องมีความแรงเท่ากันในทุกทิศทุกทาง โดยความแรงจะขึ้นกับแหล่งกำเนิดและลักษณะของภูมิประเทศแถบนั้น[ต้องการอ้างอิง]
คลื่นจะมีพฤติกรรมเป็น "คลื่นน้ำตื้น" เมื่ออัตราส่วนระหว่างความลึกของน้ำและขนาดของคลื่นนั้นมีค่าต่ำ ดังนั้น เนื่องจากมีขนาดของคลื่นที่สูงมาก คลื่นสึนามิจึงมีคุณสมบัติเป็นคลื่นน้ำตื้นแม้อยู่ในทะเลลึกก็ตาม คลื่นน้ำตื้นนั้นมีความเร็วเท่ากับรากที่สองของผลคูณระหว่างความเร่งจากสนามแรงโน้มถ่วง (9.8 เมตร/วินาที2) และความลึกของน้ำ ตัวอย่างเช่น ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร คลื่นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 200 เมตรต่อวินาที หรือ 720 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนที่ชายฝั่งที่มีความลึก 40 เมตร คลื่นจะมีความเร็วช้าลงเหลือ 20 เมตรต่อวินาที หรือ 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 สาเหตุการเกิด

คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมากเกิดการเคลื่อนตัว เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรืออุกกาบาตพุ่งชน[ต้องการอ้างอิง]
เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกระทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้เช่นกัน[ต้องการอ้างอิง]
นอกจากการกระทบกระเทือนที่เกิดใต้น้ำแล้ว การที่พื้นดินขนาดใหญ่ถล่มลงทะเล หรือการตกกระทบพื้นน้ำของเทหวัตถุ ก็สามารถทำให้เกิดคลื่นได้ คลื่นสึนามิที่เกิดในรูปแบบนี้จะลดขนาดลงอย่างรวดเร็วและไม่มีผลกระทบต่อชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลมากนัก อย่างไรก็ตาม ถ้าแผ่นดินมีขนาดใหญ่มากพอ อาจทำให้เกิด เมกะสึนามิ ซึ่งอาจมีความสูงร่วมร้อยเมตรได้[ต้องการอ้างอิง]

น้ำฝนค่า